การฆ่าเชื้อโควิด 19 ในรถยนต์ต้องทำอย่างไร

ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ที่ระบาดอย่างรุนแรงเป็นวงกว้างในประเทศไทย แถมยังเป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่งที่ติดต่อกันได้ง่าย และส่งผลนานหลายวันกว่าจะออกอาการ ทำให้ผู้ติดเชื้อบางท่านอาจเป็นพาหะได้โดยไม่รู้ตัว รวมถึงกับตัวท่านเองด้วย และถ้าหากรถยนต์ของเรามีผู้โดยสารที่เป็นกลุ่มเสี่ยงขึ้นมาในรถเราจะมีวิธี การฆ่าเชื้อโควิด 19 ในรถยนต์ต้องทำอย่างไร ให้ถูกต้องปลอดภัยจนมั่นใจที่จะใช้งานต่อได้ จากการที่ไวรัสชนิดนี้แพร่กระจายเป็นวงกว้างจึงต้องทำให้การใช้ชีวิตในประจำวันของเรายากลำบากขึ้นไปบ้าง เพราะมีมาตรการขึ้นมาใหม่มากมาย แต่ทั้งนี้ก็เพื่อการยับยั้งเชื้อที่ต้องเริ่มจากตัวท่านไม่ให้แพร่ระบาด คนรอบข้างก็ไม่เสี่ยงไปด้วย และป้องกันความเสี่ยงเมื่อคุณต้องพบปะผู้คนโดยจำเป็น ไม่ว่าจะเวลาทำงานหรือในการออกไปข้างนอกบ้าน สำหรับผู้ที่ขับรถบริการสาธารณะยิ่งต้องห้ามพลาดบทความเรื่องนี้เลย เพราะรถยนต์ที่ใช้นั้นได้รับผู้โดยสารที่หลากหลายไม่อาจทราบได้ว่ามีท่านใดเป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ ยิ่งต้องใส่ใจกับเรื่องความสะอาดภายในรถเป็นพิเศษ ด้านภายนอกรถยนต์ ควรล้างรถบ่อยขึ้น การล้างรถยนต์บ่อยๆไม่ได้แค่ทำให้รถคุณสวยงามสะอาดตาอยู่ตลอดเพียงเดียวแต่ยังเป็นการฆ่าเชื้อโรคที่สะสมเกาะอยู่ตามจุดต่างๆอีกด้วย ควรมีการล้างรถยนต์ของคุณอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ต่อครั้ง สามารถล้างด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อหรือน้ำยาล้างรถปกติก็ได้ จอดรถตากแดด การจอดรถตากแดดคืออีกวิธีหนึ่งของการฆ่าเชื้อโรคอย่างเช่นจอดกลางแจ้งไว้สักระยะเวลาหนึ่งโดยเปิดประตูหน้าต่างให้มีอากาศถ่ายเท เพราะหากไม่มีอากาศถ่ายเทความร้อนก็จะไปสะสมอยู่ข้างใน ทำให้รถมีอุณหภูมิสูงเกินไปซึ่งแบบนั้นจะเป็นการทำร้ายรถยนต์ของตัวเองมากกว่าการฆ่าเชื้อโรค ทำความสะอาดบริเวณที่ใช้มือสัมผัส สิ่งที่ต้องความสะอาดหรือต้องลงน้ำยาฆ่าเชื้ออยู่ตลอดนั่นก็คือชิ้นส่วนที่ใช้มือสัมผัสเป็นหลัก เช่น ที่จับเปิด-ปิดประตู ทั้งฝั่งคนขับและผู้โดยสารในทุกด้าน บริเวณทีเปิดฝากระโปรงด้านหน้ารถหรือตัวฝากระโปรงรถ ที่จับเปิดปิดประตูด้านท้าย ฝาปิดถังน้ำมัน เป็นต้น การฆ่าเชื้อภายในรถยนต์ พ่นค่าน้ำยาฆ่าเชื้อหรืออบโอโซนในภายในรถยนต์ โดยในปัจจุบันทางศูนย์บริการของแต่ละค่ายมีบริการพ่นน้ำยาค่าเชื้อและอบโอโซนที่นำมาให้บริการลูกค้าได้ที่ศูนย์บริการใกล้บ้านท่าน โดยนอกจากการล้างรถดูดฝุ่นแล้ว การลงน้ำยาฆ่าเชื้อภายในรถยนต์ยังเป็นการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไม่ให้แพร่กระจายต่อได้และตายในที่สุด และการอบโอโซน ก็จะเป็นการหยุดการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสด้วยเช่นกัน อีกทั้งยังเป็นการกำจัดกลิ่นอับภายในรถยนต์ของคุณอีกด้วย ล้างแอร์ การนำแอร์มาล้างใหม่นอกกจากจะทำให้ระบบปรับอากาศทำงานได้อย่างลื่นไหลและเย็นสบายมากขึ้นแล้ว อีกทั้งยังสามารถถอดตัวกรองอากาศออกมาล้างทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อได้ จะยิ่งทำให้สบายใจมากขึ้นเข้าไปอีก เพราะอากาศก็จะได้รับการฆ่าเชื้อมาในขณะที่กรองอากาศเลย ทำความสะอาดพรมบนพื้นรถ […]
น้ำมันเบรกช่วยเพิ่มสมรรถนะให้เบรกอย่างไร หากหมดไปจะทำให้เกิดอาการ เบรกเฟด หรือไม่

ในการทำงานของรถยนต์ระบบรักษาความปลอดภัยอย่างแรกที่ต้องคำนึงถึงนั่นก็คืออุปกรณ์ห้ามล้อทั้ง 4 ล้อ หรือ เบรก ที่เราเรียกกันซึ่งตัวเบรกเองก็ต้องใช้น้ำมันหล่อเลี้ยงในการทำงานเหมือนกับเครื่องยนต์เช่นกัน สำหรับหลายท่านที่กำลังสงสัยว่า น้ำมันเบรกช่วยเพิ่มสมรรถนะให้เบรกอย่างไร หากหมดไปจะทำให้เกิดอาการ เบรกเฟด หรือไม่ โดยในวันนี้ผมจะพาทุกท่านไปหาคำตอบในเรื่องนี้กัน พร้อมกับวิธีการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี และวิธีป้องกันไม่ให้เกิดอาการเบรกเฟดในระหว่างขับขี่ น้ำมันเบรก คืออะไร น้ำมันเบรก คือ ของเหลวชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่น้ำมันแต่ในประเทศไทยยังไม่มีคำจำกัดความที่ใช้เรียก Brake Fluid อย่างเป็นทางการจึงเรียกน้ำมันเบรกกันเรื่อยมา แต่ที่จริงเป็นสารเคมีที่นำมาผสมกันระหว่าง อีเทอร์ (Ether) และ ไกลคอล (Glycol) ที่ให้ความหล่อลื่นคล้ายกับน้ำมัน ซึ่งสาร 2 ชนิดนี้จะช่วยให้เบรกมีแรงดูดซับความชิ้นได้ดีมากขึ้นโดยทำปฏิกิริยากับอากาศและลมที่ได้สัมผัส ต้องเปลี่ยนน้ำมันเบรกอย่างไร ในการเปลี่ยนถ่ายในมันเบรกปกติ ควรเปลี่ยนถ่ายทุกๆครั้งเมื่อวิ่งครบที่ 20,000 ไม่เกิน 30,000 กิโลเมตร ขึ้นอยู่กับการใช้งาน แต่ด้วยสภาพอากาศที่ร้อนในประเทศไทย ให้หมั่นตรวจเช็คน้ำมันเบรกพร้อมๆกับการตรวจเช็คน้ำมันเครื่องเมื่อวิ่งครบที่ 10,000 กิโลเมตร หากน้ำมันเบรกเสื่อมสภาพจะดูจากอะไร หากเกิดอาการเหล่านี้ต้องรีบแก้ไขตรวจเช็คโดยด่วนเพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อตัวท่านและผู้อื่น ตั้งแต่อาการ เบรกแล้วมีเสียงดัง จานเบรกเสียดสีกับเบรก เบรกแล้วรู้สึกไม่มีน้ำหนัก หรือ ต้องใช้แรงเบรกมากขึ้น เบรกหายหรือเบรกไม่อยู่ อาการเบรกเฟด (Brake […]
ในปัจจุบันใบขับขี่มีกี่ชนิด ควรจะเลือกทำแบบไหนถึงจะถูกต้อง

สำหรับท่านที่กำลังจะไปทำใบขับขี่และไม่รู้ว่าจะต้องไปทำเป็นแบบไหนถึงจะถูกต้องตรงตามการใช้งาน ในสำหรับวันนี้ผมจะพาทุกท่านไปดูกันว่า ในปัจจุบันใบขับขี่มีกี่ชนิด ควรจะเลือกทำแบบไหนถึงจะถูกต้อง แบ่งเป็นกี่ประเภท ใช้งานแบบไหน รวมถึงสิ่งที่ต้องเตรียมตัวก่อนจะไปทำใบขับขี่วันนี้เราจะพาทุกท่านไปหาคำตอบกันครับ ใบขับขี่มีทั้งหมด 2 ประเภทหลัก ได้แก่ ใบขับขี่ประเภท บ. (ส่วนบุคคล) ไปใบขับขี่ประเภทส่วนบุคคลสามารใช้งานได้ทั่วไปตั้งแต่ขนส่งเคลื่อนย้ายสิ่งของหรือการขนส่งเพื่อการค้า โดยจะจำกัดน้ำหนักการบรรทุกไม่ให้เกิน 1,600 กิโลกรัม และต้องไม่ใช่การรับจ้าง ใช้ขับขี่รถที่มีแผ่นป้ายทะเบียนสีขาวตัวอักษรสีดำได้ ใบขับขี่ประเภท ท. (ทุกประเภท) คือใบอนุญาตขับขี่ที่ใช้งานได้ทุกประเภทตั้งแต่การรับจ้างบรรทุกชนย้ายสิ่งของ ใช้ขนส่งเพื่อการค้าได้โดยไม่จำกัดน้ำหนัก รับจ้างขนส่งสาธารณะได้ ใช้กับรถที่มีแผ่นป้ายทะเบียนสีเหลืองได้ โดยต่อมาจะแยกประเภทออกตามชนิดของยานพาหนะที่ใช้ขับขี่และรูปแบบในการใช้งานของผู้ใช้ เริ่มตั้งแต่ ใบขับขี่ชนิดชั่วคราว ใบขับขี่ชนิดชั่วคราว จะเปรียบเสมือนใบผ่านทางที่ผู้ขับขี่จะต้องได้รับทุกคน ก่อนที่จะได้รับใบขับขี่ขั้นต่อไป จะเป็นใบขับขี่ที่มีอายุสั้นที่สุดและค่าธรรมเนียมถูกที่สุด หรือพูดง่ายๆก็คือใบทดลองงาน หากคุณใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัยไม่เกิดเป็นคดีความใดๆภายในระยะเวลา 2 ปี ตามอายุการใช้งาน ก็จะสามารถไปต่อใบขับขี่ในแบบขั้นต่อไปได้ครับ โดยผู้ที่จะทำใบขับขี่ชนิดนี้ได้จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี และใบขับขี่ชนิดนี้ แยกออกเป็น 3 ประเภทได้แก่ ใบขับขี่รถยนต์ชั่วคราว มีอายุการใช้งาน 2 ปี มีค่าธรรมเนียม 100 บาท ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ชั่วคราว […]
เมื่อเกียร์ออโต้ของคุณมีปัญหา และเปิดสัญญาณเตือนก่อนพัง

สำหรับวันนี้ผมและทีมงานจะพาทุกท่านมาศึกษาวิธีการใช้เกียร์อัตโนมัติให้ถูกวิธี เมื่อเกียร์ออโต้ของคุณมีปัญหา และเปิดสัญญาณเตือนก่อนพัง กันว่าควรจะปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้อง โดยที่ผ่านมาจะมีเวลาไหนที่เราได้ทำผิดไปบ้างรึป่าว หากทำไปแล้วจะเกิดผลเสียให้กับเกียร์ได้อย่างไร พร้อมกับวิธีรับมือกับอาการที่เกิดขึ้นเพื่อไม่ให้ลุกลามบานปลาย ถ้าพร้อมแล้วเราไปรับชมพร้อมๆกันเลยครับ สาเหตุที่ทำให้เกียร์เสียหายหรือพังได้ เชนเกียร์ต่ำในรอบเครื่องยนต์สูง ในเวลาที่รอบเครื่องยนต์สูงอยู่แล้วคุณทำการเชนเกียร์เพื่อที่จะเร่งรอบเครื่องยนต์เพิ่มจากเดิมแน่นอนว่ารถจะตอบสนองเร็วขึ้นก็จริงแต่นั่นคือการทำร้ายเกียร์ของคุณโดยตรง เพราะจะส่งผลให้ชิ้นส่วนภายในเกียร์ทำงานหนักเกินไป จึงส่งผลทำให้เกียร์สึกหรอทุกครั้งหากทำบ่อยๆจะส่งผลให้เกียร์พังได้อย่างแน่นอน เปลี่ยนจากเกียร์ R ไปเกียร์ D หรือ เข้าเกียร์ P ในขณะที่รถยังจอดไม่สนิท ในการทำงานของระบบเกียร์รถยนต์จะเป็นฟันเฟืองหลายตัวทำงานประสานกัน หากในเวลาที่เราใช้เกียร์ R (ถอยหลัง) ฟันเฟืองจะหมุนคนละทิศทางกับเกียร์เดินหน้า หากเวลาถอยอยู่แล้วเปลี่ยนเป็นเกียร์เดินหน้าอย่างรวดเร็วจะส่งผลให้เฟืองเกียร์เสียหายโดยตรงเพราะจะเป็นเหมือนการไปฝืนกฏการทำงานของเกียร์ที่ต้องทำงานกันเป็นขั้นตอนและในเวลาที่เข้าเกียร์ P ในขณะที่ยังจอดไม่สนิทก็จะเป็นการไปล็อกเฟืองเกียร์ก่อนในขณะที่ยังไม่หยุดทำงาน อาจทำให้เฟืองชนกันจนเกิดการแตกได้ กระแทกคันเร่งบ่อยๆ ในการที่เรากระแทกคันเร่งบ่อยๆทั้งในจังหวะแซงหรือ ออกตัวแบบเต็มคันเร่งเหมือนกับในหนังบ่อยๆแบบนั้นจะส่งผลให้เกียร์ทำงานหนักมากเกินไป จะเกิดการเสียดสีของเฟืองโดยเกินความจำเป็น หากทำแบบนี้นานเข้าจะส่งผลต่อเฟืองเกียร์ของคุณอย่างแน่นอน ลืมถ่ายน้ำมันเกียร์ ซึ่งในส่วนนี้เช่นเดียวกับน้ำมันเครื่องที่จะปล่อยให้ขาดไม่ได้เลย เพราะชิ้นส่วนภายในของเกียร์นั้นก็ต้องใช้น้ำมันหล่อเลี้ยงเพื่อการทำงานที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุดเช่นกัน เพราะฉะนั้นเราควรถ่ายน้ำมันเกียร์ในทุกครั้งเมื่อรถวิ่งครบ 40,000-60,000 กิโลเมตร ข้อสังเกตอาการที่เกิดขึ้นก่อนเกียร์จะพัง เข้าเกียร์ D และ เกียร์ R แล้วมีอาการกระชากหรือสะดุด อาการแบบนี้จะเกิดได้จากหลายกรณี กรณีแรกเกิดจากการที่น้ำมันเกียร์ร้อนเกินมาตรฐานกำหนดอาจเพราะไม่ได้เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์เป็นเวลานาน คือจุดเริ่มต้นหนึ่งที่อาจนำไปสู่ความเสียหาย หรือในเวลาที่สตาร์ทเครื่องใหม่แล้วอยู่ในช่วงวอร์มเครื่องแล้วใช้งานเลยอาจทำให้เข้าเกียร์แล้วกระตุกได้หรืออาการที่เรียกกันว่าเกียร์เย็น เกียร์เปลี่ยนเร็วหรือช้ากว่าปกติ การที่เกียร์เปลี่ยนไม่คงที่เป็นอีกสัญญาณเตือนอย่างหนึ่งว่าเกียร์คุณเริ่มมีอาการแปลกๆแล้วนะ ถ้ารถยนต์ที่ไม่เคยทำการปรับแต่งเกียร์หรือกล่อง […]
รถจักรยานยนต์มีวิธีการดูแลอย่างไร ต่างกันกับรถยนต์หรือไม่

หากพูดถึงรถจักรยานยนต์นั้นก็ใช้งานในชีวิตประจำวันไม่ต่างกับรถยนต์ เพราะฉะนั้นการดูแลรักษาจึงไม่แตกต่างกันกับรถยนต์มากนัก และหากสงสัยว่า รถจักรยานยนต์มีวิธีการดูแลอย่างไร ต่างกันกับรถยนต์หรือไม่ ซึ่งก็ตอบได้เลยว่าแทบจะไม่แตกต่างกัน เพราะต้องดูแลในอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการทำงานเหมือนกัน แต่อาจจะแตกต่างกันที่ระยะทางและปริมาณ ด้วยขนาดรถและขนาดความจุของเครื่องยนต์ที่รถจักรยานยนต์มีขนาดเล็กกว่ามาก โดยในวันนี้ผมจะพาทุกท่านไปดูในรายละเอียดในเรื่องนี้กันครับ สิ่งที่ต้องหมั่นตรวจสอบดูแลเป็นประจำ น้ำมันเครื่อง รถจักรยานยนต์จำเป็นต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามระยะทางที่กำหนดเช่นเดียวกับในรถยนต์ แต่รถจักรยานยนต์จะมีขนาดเครื่องยนต์ที่เล็กกว่าทำให้มีอ่างเก็บน้ำมันเครื่องที่น้อยกว่ารถยนต์ และเครื่องยนต์ที่มีรอบจัดกว่าทำให้มีความร้อนสะสมสูงกว่ารถยนต์จึงต้องมีระยะการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องที่เร็วกว่ารถยนต์อยู่พอสมควร โดยจะแบ่งตามเกรดของน้ำมันเครื่องที่ใช้ดังนี้ สำหรับน้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้ 100 % แนะนำให้เปลี่ยนถ่ายที่ระยะ 4,000-5,000 กิโลเมตรต่อครั้ง สำหรับน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ แนะนำให้เปลี่ยนถ่ายที่ระยะ 2,000-3,000 กิโลเมตร ต่อครั้ง สำหรับน้ำมันเครื่องเกรดพื้นฐาน แนะนำให้เปลี่ยนถ่ายที่ระยะ 1,500-2,000 กิโลเมตรต่อครั้ง ระบบน้ำหล่อเย็น สำหรับในรถจักรยานยนต์รุ่นที่ใช้หม้อน้ำในการระบายความร้อน จะต้องมีการใช้น้ำในการหล่อเย็นเช่นเดียวกับรถยนต์ เพราะฉะนั้นการหมั่นตรวจเช็คก็จะคล้ายๆรถยนต์คืออาทิตย์ละ 1 ครั้ง ให้ลองเปิดฝาตรวจสอบระดับน้ำดูว่าขาดไปหรือไม่ และควรเปลี่ยนถ่ายน้ำหล่อเย็นเมื่อวิ่งครบ 40,000 กิโลเมตรต่อหนึ่งครั้ง หรือเปลี่ยนถ่ายในทุกๆหนึ่งปีหากไม่มีการรั่วไหลของหม้อน้ำ น้ำมันเบรก เช่นเดียวกับรถยนต์ที่ระบบเบรกเป็นส่วนสำคัญที่มองข้ามไม่ได้เช่นกันในรถจักรยานยนต์ เพราะเป็นระบบที่ช่วยห้ามล้อ หากเสื่อมสภาพหรือไม่สมบูรณ์ในระหว่างใช้งานจะทำให้เกิดอันตรายให้กับผู้ขับขี่เป็นอย่างมาก เพราะอย่างนั้นน้ำมันเบรกจึงเป็นสิ่งที่ห้ามขาดไปโดยเด็ดขาด ต้องให้อยู่ในระดับที่กำหนดตลอดเวลา ควรหมั่นตรวจเช็คเป็นประจำเช่นเดียวกับระดับน้ำหล่อเย็น ที่ต้องตรวจสอบอย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง และมีระยะการเปลี่ยนถ่ายเมื่อวิ่งครบทุก 40,000 กิโลเมตร หรือ ปีละ […]
หากรถจักรยานยนต์ขับแล้วมีอาการกระตุกหรือวูบดับ มีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง

สำหรับผู้ใช้งานรถจักรยานยนต์ อาจจะพบเจอปัญหาในระหว่างการใช้งานได้เหมือนกับในรถยนต์เข่นกัน ส่วนมากอาการที่จะพบบ่อยในรถจักรยานยนต์คืออาการวูบดับหรือขับกระตุกที่อาจเป็นปัญหาจุกจิกกวนใจของใครหลายคนที่แก้เท่าไรอาการก็ยังกลับมาอยู่ โดยในวันนี้ผมจะพาทุกท่านไปดูกันว่า หากรถจักรยานยนต์ขับแล้วมีอาการกระตุกหรือวูบดับ มีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง หากไม่อยากให้เกิดขึ้นกับรถจักรยานยนต์ของเราควรทำอย่างไร ในสำหรับวันนี้ผมจะพาทุกท่านไปหาคำตอบกับเรื่องนี้กันครับ อาการเครื่องยนต์กระตุกหรือวูบดับ เกิดจากอะไร หัวเทียน หัวเทียนอาจหลวม หรือเสื่อมสภาพ และร้ายที่สุดคือหัวเทียนบอด เป็นอุปกรณ์ชิ้นแรกที่หากเสียไปจะทำให้รถเกิดอาการดังกล่าวได้ตั้งแต่น้อยไปจนถึงสตาร์ทเครื่องยนต์ไม่ติดได้เลย เพราะหัวเทียนเป็นชิ้นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในระบบการทำงานของเครื่องยนต์ เพราะจะทำหน้าที่สร้างประจุไฟฟ้าแรงสูงเพื่อไปเป็นแรงในการจุดระเบิด เพื่อให้เครื่องยนต์ทำงานและเคลื่อนตัวออกไปได้ เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ห้ามเสียหายเด็ดขาด และต้องเปลี่ยนตามอายุการใช้งานที่ของหัวเทียนรุ่นนั้น หัวฉีด ในปัจจุบันรถจักรยานยนต์ใช้ระบบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นแบบหัวฉีดทั้งหมดแล้วที่ประหยัดน้ำมันและจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงได้อย่างแม่นยำ แต่ถ้าหากหัวฉีดที่ไม่ได้รับการดูแลให้ดีเท่าทีควรหรือการที่ใช้น้ำมันที่ไม่ได้มาตรฐาน ก็สามารถเสื่อมสภาพและอุดตันได้เช่นกัน และนี่ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้รถจักรยานยนต์ กระตุกหรือวูบดับได้ ปั้มติ๊ก หรือตัวปั้มน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในถังน้ำมันคอยควบคุมแรงดันของน้ำมันเชื้อเพลงที่จะส่งไปให้กับเครื่องยนต์ หากปั้มติ๊กเสื่อมสภาพไปก็จะไม่สามารถจ่ายน้ำมันได้เต็มประสิทธิภาพ ทำให้เครื่องยนต์สะดุดหรืออาจวูบดับในบางจังหวะได้ การดูแลรักษาปั๊มติ๊กในเบิ้องต้นเพียงแค่เราไม่ปล่อยให้น้ำมันเตือนหรือใช้งานตอนน้ำมันเหลือก้นถัง จะเป็นการทำให้ปั้มติ๊กดูดน้ำมันได้ไม่เต็มที่ หมั่นเติมน้ำมันให้เต็มถังตลอดก็จะเป็นการถนอมปั๊มติ๊กไปในตัว ไส้กรองอากาศ หากปล่อยให้อุดตันโดยไม่ดูแลรักษาหรือเปลี่ยนตามระยะเวลาที่กำหนด ก็จะทำให้เกิดปัญหานี้ได้ง่ายมากขึ้น โดยไส้กรองอากาศในรถจักรยานยนต์หลักในบ้านเราก็จะมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ แบบเปียก กับ แบบแห้ง ซึ่งมีระยะการใช้งานอยู่ที่ 10,000 กิโลเมตร เมื่อใช้งานครบระยะที่กำหนดให้เปลี่ยนทันทีทั้งใน 2 ใบ ถึงแม้จะเป็นรุ่นที่มีสมรรถนะสูงแค่ไหนก็ตาม เพราะอากาศในประเทศไทยมักจะเต็มไปด้วยฝุ่นละอองในอากาศมาก หรือ PM 2.5 […]
รถยนต์ของเราควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องบ่อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับอะไร

โดยในการทำงานของเครื่องยนต์นั้นจะใช้น้ำมันเครื่องเป็นการหล่อลื่นให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยในรถรถยนต์แต่ละรุ่นนั้นก็จะมีขนาดความจุของปริมาณน้ำมันเครื่องที่แตกต่างกัน ส่วนใน รถยนต์ของเราควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องบ่อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับอะไร ในวันนี้ผมจะพาทุกท่านไปดูปัจจัยหลักที่จะเป็นข้อสังเกตให้รู้ว่าเราควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องบ่อยแค่ไหน โดยจะมีปัจจัยหลักอยู่ทั้งหมดดังนี้ จุดที่ใช้สังเกตว่าจะต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่องบ่อยแค่ไหน สภาพของเครื่องยนต์ที่และการบำรุงรักษาที่ผ่านมา หากมีการดูแลรักษาเครื่องยนต์ได้ดีก็เปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามระยะเวลาปกติ และเป็นการยืดอายุของน้ำมันเครื่องได้อย่างดี แต่หากไม่ได้รับการดูแลรักษาให้ดีเท่าที่ควร จะทำให้เครื่องยนต์เสื่อมสภาพเร็วขึ้น เครื่องยนต์หลวมทำให้การเผาไหม้ไม่มีประสิทธิภาพทำให้มีสารตกค้างเยอะ จึงจำเป็นต้องถ่ายน้ำมันเครื่องบ่อยกว่าปกติ ชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้งาน ในส่วนนี้ก็เป็นปัจจัยหลักที่สำคัญอีกเช่นกัน โดยในปัจจุบันที่มีน้ำมันเชื้อเพลิงพลังงานทางเลือกมาให้เลือกใช้อย่างมากมาย โดยยกตัวอย่างจากประสบการณ์ของผู้ที่ใช้น้ำมัน B10 และ B20 ได้คำตอบว่า จำเป็นต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่องบ่อยกว่าเดิมเพราะน้ำมันเครื่องจะมีอายุการใช้งานที่สั้นลง ต้องเปลี่ยนถ่ายบ่อยขึ้น เพราะน้ำมันประเภทนี้มีไขมันผสมอยู่จึงทำให้เครื่องยนต์มักจะเผาไหม้ไม่หมด จึงต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องบ่อยกว่าเดิม รูปแบบในการขับขี่ การใช้งานก็เป็นอีกหนึ่งจุดที่จะบอกว่าเราควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องบ่อยแค่ไหน โดยการใช้งานที่มักจะทำให้อายุการใช้งานของน้ำมันเครื่องสั้นลงมีดังต่อไปนี้ การใช้งานรถยนต์ในที่ที่มีการจราจรติดขัด การขับขี่ในเส้นทางสูงชัน การบรรทุกหนัก การขับขี่ด้วยความเร็วสูง การขับขี่ในทางที่มีฝุ่นมาก อาการเหล่านี้เป็นปัจจัยหลักที่ต้องทำให้น้ำมันเครื่องต้องเปลี่ยนถ่ายมากกว่ากำหนด ระยะเวลาที่ได้ใช้งาน กรณีนี้จะใช้กับรถยนต์ที่มักจะจอดเป็นส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ใช้งาน จำเป็นต้องเปลี่ยนตามระยะเวลาที่กำหนดคือ 1 ครั้ง ในรอบ 6 เดือน แล้วเปลี่ยนตามรอบนี้ โดยหลายท่านที่อาจเข้าใจผิดว่ารถไม่ค่อยได้ใช้แค่เปลี่ยนตามระยะทางก็พอ แบบนั้นไม่ใช่เรื่องดีแต่อย่างใด เพราะน้ำมันเครื่องที่อยู่ในอ่างเครื่องยนต์นั้นมีการสัมผัสกับอากาศและความชื้นตลอดเวลา เป็นผลให้น้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพได้ ระยะทางที่ขับขี่ ปัจจัยนี้จะขึ้นอยู่กับเกรดของน้ำมันเครื่องแต่ละชนิดที่ได้เลือกใช้โดยจะมีอยู่ 3 แบบ ดังนี้ น้ำมันเครื่องเกรดสังเคราะห์ […]
เวลาฝนตกหนัก ควรขับรถอย่างไรให้ปลอดภัยที่สุด

สำหรับหลายท่านคงประสบปัญหาไม่น้อยเวลาขับรถยนต์แล้วเจอฝนตกหนัก จนทำให้ทัศนวิสัยแย่ถนนก็ลื่น ขับต่อไปจะเป็นอันตรายหรือไม่ ซึ่งหลายๆท่านคงมีคำถามในใจอยู่บ้างว่า เวลาฝนตกหนัก ควรขับรถอย่างไรให้ปลอดภัยที่สุด ควรขับต่อหรือจะหยุดรอจนฝนเบาก่อนดี หากในเวลาเร่งด่วนล่ะจะทำอย่างไร ซึ่งไม่ต้องหยุดรอแต่อย่างไรครับ ซื้อรถยนต์มาทั้งทีวันนี้เราจะพาทุกท่านมาดูวิธีที่จะช่วยให้ท่านขับขี่ลุยฝนได้อย่างปลอดภัยที่สุดกันครับ สิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมในฤดูฝน ตรวจสอบสภาพของยางปัดน้ำฝน ว่าเสื่อมสภาพหรือไม่ยังรีดน้ำได้ดีอยู่หรือป่าวให้รองทดสอบโดยการฉีดน้ำล้างกระจกแล้วลองปัดดู ตรวจสอบน้ำฉีดกระจก ในหลังจากการขับลุยฝนแต่ละครั้งมักจะมีคราบน้ำเกาะตามกระจกหากน้ำฉีดกระจกเราหมดก็อาจจะทำให้การทำความสะอาดยากลำบากกว่าเดิมในขณะที่ขับขี่ ตรวจสอบระบบปัดน้ำฝน ว่าใช้งานได้ทุกระดับหรือไม่ ทั้งข้างหน้าและข้างหลัง หากเกิดชำรุดระหว่างทางอาจจะทำให้ขับต่อไม่ได้เพราะไม่สามารถที่จะเปิดทัศนวิสัยให้กับตนเองได้ ตรวจสอบระบบสัญญาณไฟ ก่อนการใช้งานในช่วงหน้าฝนแต่ละครั้งควรจะต้องตรวจสอบสัญญาณไฟทุกครั้งก่อนออกเดินทาง หากขาดไปหรือเสียหายชำรุด ก็อาจจะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ ตรวจสอบสภาพของยาง ว่ายางของเราเสื่อมสภาพหรือไม่ มีดอกยางที่หนาพอจะยึดเกาะถนนได้มั้ย และลมยางมีน้ำหนักที่แข็งไปหรือป่าว เพราะหากถ้ายางแข็งเกินไปจะทำให้ลื่นไถลได้ง่ายมากขึ้นกว่าเดิม สิ่งที่ควรปฏิบัติในเวลาที่ขับรถตอนฝนตกหนัก ลดระดับความเร็วลง เป็นสิ่งแรกที่ต้องปฏิบัติเพราะจะช่วยให้ควบคุมรถได้ดีขึ้น และสามารถตัดสินใจแก้ไขสถานการณ์ได้ทันหากมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเวลาฝนตกลงไม่นานมาน้ำที่เพิ่งจะสัมผัสกับพื้นถนนโดยผสมกับคราบฝุ่นคราบน้ำมันต่างๆบนถนน จะทำให้ลื่นมากกว่าปกติ เปิดไฟส่องสว่าง การเปิดไฟส่องสว่างหน้ารถจะช่วยเพิ่มทัศนวิสัยให้ผู้ขับขี่มากขึ้นยิ่งไฟตัดหมอกที่เน้นส่องพื้นถนนจะมีประโยชน์อย่างมาก และยังทำให้รถคันอื่นๆ มองเห็นตำแหน่งรถยนต์ของเราได้ชัดเจนมากขึ้น เว้นระยะห่างกับรถคันข้างหน้ามากขึ้น ในเวลาที่ฝนตกหนักเราไม่สามารถมองเห็นทางข้างหน้าได้ไกลอย่างเดิม เพราะฉะนั้นจุดโฟกัสของเราจะเหลือเพียงแค่ ไฟท้ายรถคันข้างหน้าและเส้นของถนนที่เห็นเพียงแค่รถยะไฟหน้า จึงทำให้ต้องรักษาระยะห่างไว้มากขึ้นเพราะไม่รู้ว่าถัดจากคันข้างหน้าเราไปจะมีเหตุการณ์อย่างไรบ้าง ให้คอยสังเกตพฤติกรรมของรถคันข้างหน้าให้ไดั ใช้เบรกอย่างระมัดระวัง ด้วยความที่ฝนตกมักทำให้ถนนลื่น โดยการใช้เบรกในแต่ละครั้งเมื่อฝนตกจะต้องใช้งานอย่างระมัดระวังหากเบรกแรงเกินไปจนล้อล็อกถนนที่เปียกน้ำจะไม่มีแรงต้านทานมากพอให้กับยางและน้ำหนักของรถ สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติในเวลาที่ขับรถตอนฝนตกหนัก หลีกเลี่ยงการขับลงแอ่งน้ำ ในการขับมาปกติแล้วลงแอ่งน้ำโดยไม่ทันตั้งตัวหากท่านจับพวงมาลัยไม่แน่นอาจทำให้องศาของล้อหน้าที่ปะทะกับน้ำเกิดเปลี่ยนทิศทางได้ หรือในเวลาที่ขับมาด้วยความเร็วแล้วลงแอ่งน้ำอาจทำให้ล้อหน้าลอยตัวไม่ติดพื้นและเสียการควบคุมได้ซึ่งจะเรียกกันว่า อาการเหินน้ำที่เราเคยเห็นกันในข่าว ห้ามเปิดไฟฉุกเฉินเมื่อไม่มีเหตุ ในเวลาขับลุยฝนที่ตกหนัก ปกติห้ามเปิดไฟฉุกเฉินเด็ดขาดหากไม่มีเหตุที่จะต้องทำให้เบรกหรือหยุดรถกระทันหัน […]
จอดรถตากแดดนานรถยนต์จะเป็นอย่างไร และส่งผลเสียให้รถอย่างไรบ้าง

ในปัจจุบันประเทศไทยของเรามีแดดที่แรงจัดในเวลากลางวัน ทำให้อุณหภูมิภายนอกสูงตามไปด้วยสำหรับท่านใดที่มีความจำเป็นต้องจอดรถยนต์ตากแดดในทุกวัน ซึ่งแน่นอนว่าต้องส่งผลเสียให้กับรถยนต์ของท่านโดยตรงอย่างแน่นอนอย่างไม่มากก็น้อย เพราะแสง UV จากแสงแดดที่แรงจัดๆเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ชิ้นส่วนต่างๆของรถยนต์เสื่อมสภาพได้ และนานเข้าจะทำให้เห็นผลชัดเจนมากขึ้น โดยในวันนี้เราจะพาทุกท่านมาดูกันว่า จอดรถตากแดดนานรถยนต์จะเป็นอย่างไร และส่งผลเสียให้รถอย่างไรบ้าง รวมถึงสิ่งที่ควรเลี่ยงพร้อมกับวิธีป้องกันที่เราจะมานำเสนอกันในวันนี้ ส่งผลเสียกับรถยนต์อย่างไร การที่เราจอดรถยนต์ตากแดดไว้เป็นระยะเวลานาน จะส่งผลเสียให้กับรถยนต์ของคุณโดยตรง ทำให้อุปกรณ์ต่างๆเสื่อมสภาพหรือเกิดความเสียหายได้ ตั้งแต่ สีรถยนต์ คือส่วนประกอบแรกที่ต้องสัมผัสกับแสงแดดโดยตรง ตั้งแต่เวลาที่ขับรถออกมาข้างนอกถ้าหากขับในเวลาสั้นๆแล้วกลับไปจอดในที่ร่มเช่นเดิมก็จะไม่ส่งผลเสียมาก แต่หากตากแดดเป็นระยะเวลานานจะทำให้แว็กที่เคลือบสีรถเสื่อมสภาพลง จึงทำให้ความเงางามของสีรถซีดจางหายไป ยางรถยนต์ อุปกรณ์อีกหนึ่งอย่างของรถยนต์ที่หากเสื่อมสภาพไปจะเกิดอันตรายได้ โดยในยางรถยนต์ถ้าได้รับการจอดตากแดดเป็นระยะเวลานานถึงแม้จะไม่ได้วิ่งอยู่ก็ตามอาจทำให้ยางเสื่อมสภาพจากความร้อนได้ ยิ่งในรถเก่ายางที่มีอายุการใช้งานนาน เสี่ยงต่อการที่ยางอาจเกิดระเบิดเมื่อนำไปขับได้ ฟิล์มกรองแสง ฟิล์มกรองแสงฟิล์มกันลอยถึงแม้ว่าจะขึ้นชื่อว่าเป็นฟิล์มกันแดด แต่ก็ไม่ได้ออกแบบมาให้ตากแดดได้อยู่ตลอดเวลา เพราะฟิล์มแต่ละชิ้นก็มีอายุการใช้งานที่จำกัด การที่จอดตากแดดนานๆจะเป็นการลดอายุการใช้งานของฟิล์มลงไปโดยไม่รู้ตัว ภายในห้องโดยสาร การจอดตากแดดนานๆโดยที่ภายในห้องโดยสารไม่มีช่องระบายให้อากาศออก จะทำให้มีความร้อนที่สะสมอยู่ภายในมาก หรือพูดง่ายๆก็คือกลายสภาพเป็นเตาอบดีๆนี่เอง จึงทำให้วัสดุทีเป็นพลาสติกหรือยาง ตามขอบประตูและส่วนต่างๆภายในเสื่อมสภาพและเสียหายเร็วขึ้น เครื่องยนต์ ในเวลาที่เราใช้งานรถยนต์เครื่องยนต์มักจะทำงานด้วยอุณหภูมิที่สูงอยู่แล้วแต่จะมีการทำงานของระบบระบายความร้อนเข้ามาช่วยให้ทำงานได้อย่างปกติ เพราะฉะนั้้นในเวลาที่เราจอดตากแดดเป็นเวลานานจะทำให้อุณหภูมิของเครื่องยนต์สูงโดยระบบต่างๆไม่ได้ทำงาน จึงเป็นที่มาของอาการน้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพเร็ว หรือ แบตเตอรี่เสื่อมไวได้ เกิดประกายไฟ ในกรณีที่เลวร้ายที่สุดหากท่านจอดตากแดกเป็นระยะเวลานานแล้วดันทิ้งอุปกรณ์ที่ก่อประกายไฟหรืออาจเกิดการระเบิดหากเจอความร้อนสูง เช่นไฟแช็ค พาวเวอร์แบงค์ชาร์จไฟสำรอง ขวดสเปร์ย หรือ โทรสับมือถือ เป็นต้น จะยิ่งทำให้เป็นอันตรายกับรถยนต์ของคุณมากกว่าเดิม หากต้องจอดตากแดดทุกวันควรทำอย่างไร หากมีความจำเป็นที่จะต้องจอดตากแดดในทุกๆวันไม่ว่าจะในที่ทำงานหรือที่บ้าน เราควรมีวิธีป้องกันดูแลไม่ให้รถยนต์ของเราเสื่อมสภาพได้อย่างไร […]
เกียร์ D1 D2 หรือ เกียร์ L คืออะไร ควรใช้งานในเวลาไหนบ้าง

สำหรับผู้ใช้งานรถยนต์ที่เป็นแบบเกียร์ออโต้ท่านจะสังเกตเห็นว่ามีตำแหน่งเกียร์อยู่นอกเหนือจากที่ใช้ประจำ หากท่านที่ใช้งานมาเป็นเวลานานอาจจะทราบดีอยู่แล้ว ส่วนสำหรับท่านใดที่ยังไม่ทราบว่า เกียร์ D1 D2 หรือ เกียร์ L คืออะไร ควรใช้งานในเวลาไหนบ้าง โดยการทำงานของเกียร์ออโต้เป็นเกียร์ที่ใช้งานง่ายและสtดวกสบายเป็นอย่างมาก แต่ในความสบายนั้นก็ต้องใช้งานในเกียร์ต่างๆให้ถูกวิธีเพื่อความปลอดภัยและจะทำให้เกียร์ของคุณมีอายุการใช้งานที่นานยิ่งขึ้น และในวันนี้เราจะมาบอกคุณสมบัติและต้องใช้งานกับสถานการณ์แบบไหนถึงจะให้ประสิทธิภาพสูงสุด หากพร้อมแล้วเราไปดูกันเลยครับ เกียร์มีอะไรบ้าง เกียร์ P หรือ Parking ใช้ในการจอดรถเมื่อเวลาที่รถหยุดสนิทและไม่อยู่ในการควบคุมรถ จะเปรียบเสมือนเบรกมือในตัว เพราะเกียร์ P จะเป็นการสอดเฟืองเข้าไปล็อกการทำงานของเฟืองเกียร์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเดินหน้าหรือถอยหลังก็ไม่สามารถขยับรถได้ เกียร์ R หรือ Reverse ใช้สำหรับถอยหลังเท่านั้น โดยจะเป็นการทำงานเป็นเฟืองถอยหลังแบบเกียร์เดียวทำงานสลับทิศทางกับเฟืองเกียร์ทั้งหมด เกียร์ N หรือ Neutral เป็นตำแหน่งเกียร์ว่างใช้จอดในพื้นที่ราบโดยที่มั่นใจว่ารถจะไม่ไหลไปเกิดอันตราย เพราะการจอดด้วยเกียร์นี้ก็เพื่อที่จะให้รถยนต์ของเราสามารถเข็นเดินหน้าถอยหลังได้ในเวลาที่จอดขวางทางออกคนอื่นอยู่ เกียร์ D หรือ Drive เป็นเกียร์เดินหน้าโดยจะทำการเดินหน้าไปตามรอบเครื่องยนต์ตามปกติโดยหากต้องการเร่งเครื่องยนต์เพิ่มเพียงแค่เพิ่มน้ำหนักคันเร่งระบบส่งกำลังก็จะช่วยถอนเกียร์เพื่อเพิ่มอัตราเร่งโดยอัตโนมัติ เกียร์ D3 จะเป็นการลดเกียร์ลงมาคาอยู่ไว้ที่เกียร์ 3 จากที่เกียร์ D ธรรมดาจะทำงานอยู่ในระหว่าง เกียร์ 4 และ เกียร์ 5 […]