สำหรับท่านที่กำลังจะไปทำใบขับขี่และไม่รู้ว่าจะต้องไปทำเป็นแบบไหนถึงจะถูกต้องตรงตามการใช้งาน ในสำหรับวันนี้ผมจะพาทุกท่านไปดูกันว่า ในปัจจุบันใบขับขี่มีกี่ชนิด ควรจะเลือกทำแบบไหนถึงจะถูกต้อง แบ่งเป็นกี่ประเภท ใช้งานแบบไหน รวมถึงสิ่งที่ต้องเตรียมตัวก่อนจะไปทำใบขับขี่วันนี้เราจะพาทุกท่านไปหาคำตอบกันครับ
ใบขับขี่มีทั้งหมด 2 ประเภทหลัก ได้แก่
- ใบขับขี่ประเภท บ. (ส่วนบุคคล) ไปใบขับขี่ประเภทส่วนบุคคลสามารใช้งานได้ทั่วไปตั้งแต่ขนส่งเคลื่อนย้ายสิ่งของหรือการขนส่งเพื่อการค้า โดยจะจำกัดน้ำหนักการบรรทุกไม่ให้เกิน 1,600 กิโลกรัม และต้องไม่ใช่การรับจ้าง ใช้ขับขี่รถที่มีแผ่นป้ายทะเบียนสีขาวตัวอักษรสีดำได้
- ใบขับขี่ประเภท ท. (ทุกประเภท) คือใบอนุญาตขับขี่ที่ใช้งานได้ทุกประเภทตั้งแต่การรับจ้างบรรทุกชนย้ายสิ่งของ ใช้ขนส่งเพื่อการค้าได้โดยไม่จำกัดน้ำหนัก รับจ้างขนส่งสาธารณะได้ ใช้กับรถที่มีแผ่นป้ายทะเบียนสีเหลืองได้
โดยต่อมาจะแยกประเภทออกตามชนิดของยานพาหนะที่ใช้ขับขี่และรูปแบบในการใช้งานของผู้ใช้ เริ่มตั้งแต่
ใบขับขี่ชนิดชั่วคราว
- ใบขับขี่ชนิดชั่วคราว จะเปรียบเสมือนใบผ่านทางที่ผู้ขับขี่จะต้องได้รับทุกคน ก่อนที่จะได้รับใบขับขี่ขั้นต่อไป จะเป็นใบขับขี่ที่มีอายุสั้นที่สุดและค่าธรรมเนียมถูกที่สุด หรือพูดง่ายๆก็คือใบทดลองงาน หากคุณใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัยไม่เกิดเป็นคดีความใดๆภายในระยะเวลา 2 ปี ตามอายุการใช้งาน ก็จะสามารถไปต่อใบขับขี่ในแบบขั้นต่อไปได้ครับ โดยผู้ที่จะทำใบขับขี่ชนิดนี้ได้จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี และใบขับขี่ชนิดนี้ แยกออกเป็น 3 ประเภทได้แก่
- ใบขับขี่รถยนต์ชั่วคราว
- มีอายุการใช้งาน 2 ปี
- มีค่าธรรมเนียม 100 บาท
- ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ชั่วคราว
- มีอายุการใช้งาน 2 ปี
- มีค่าธรรมเนียม 50 บาท
- ใบขับขี่รถยนต์สามล้อชั่วคราว (รถตุ๊กตุ๊ก)
- มีอายุการใช้งาน 2 ปี
- มีค่าธรรมเนียม 50 บาท
- ใบขับขี่รถยนต์ชั่วคราว
ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ทั่วไป
- ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ทั่วไป หากคุณได้ใช้ใบขับขี่ชั่วคราวจนครบกำหนดอายุแล้ว ในการมาต่อใบขับขี่ครั้งต่อไป ท่านจะได้ใบขับขี่แบบทั่วไป ที่มีอายุการใช้งานที่นานขึ้นกว่าเดิม ใช้ได้แบบยาวๆไม่ต้องเดินทางมาต่ออายุลายปีเหมือนกับ ใบขับขี่ชนิดชั่วคราว โดยใบขับขี่ชนิดนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
- ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล
- มีอายุการใช้งาน 5 ปี
- มีค่าธรรมเนียม 500 บาท
- ใบขับขี่รถยนต์สาธารณะ
- มีอายุการใช้งาน 3 ปี
- มีค่าธรรมเนียม 300 บาท
- ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล
ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์สามล้อ (รถตุ๊กตุ๊ก)
- ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์สามล้อ (รถตุ๊กตุ๊ก) สำหรับรถยนต์สามล้อเองก็ต้องทำใบขับขี่แยกประเภทออกมาจากรถยนต์และรถจักรยานยนต์ด้วยเช่นกัน หลังจากที่ได้ใช้งานใบขับขี่ประเภทชั่วคราวครบตามเวลาที่กำหนดแล้ว สามารถมารับใบอนุญาตขับรถได้ โดยจะมีอายุการใช้งานที่นานขึ้นมากกว่าใบขับขี่ชั่วคราวที่ต้องมาต่อเป็นรายปี โดยใบขับขี่ชนิดนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
- ใบขับขี่รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล
- มีอายุการใช้งาน 5 ปี
- มีค่าธรรมเนียม 250 บาท
- ใบขับขี่รถยนต์สามล้อสาธารณะ
- มีอายุการใช้งาน 3 ปี
- มีค่าธรรมเนียม 150 บาท
- ใบขับขี่รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล
ใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์
- ใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์ เงื่อนไขก็จะเหมือนกับของรถยนต์และรถสามล้อ เมื่อใช้งานใบขับขี่ชั่วความครบตามระยะเวลาที่กำหนดแล้วสามารถมาต่ออายุใบขับขี่ให้เป็น 5 ปีได้ ใช้กันได้ยาวๆเลย ในใบขับขี่ประเภทนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
- ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล
- มีอายุการใช้งาน 5 ปี
- มีค่าธรรมเนียม 250 บาท
- ใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ
- มีอายุการใช้งาน 3 ปี
- มีค่าธรรมเนียม 150 บาท
- ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล
ใบอนุญาตขับขี่รถบดถนน
- ใบอนุญาตขับขี่รถบดถนน การที่ผู้ขอจะสามารถทำใบขับขี่ชนิดนี้ได้ จำเป็นต้องผ่านหลักสูตรการอบรมฝึกฝนทักษะพิเศษในการใช้รถบดถนนที่มีความอันตรายสูง ให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัยต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อมมากที่สุด
- มีอายุการใช้งาน 5 ปี
- มีค่าธรรมเนียม 250 บาท
ใบอนุญาตขับขี่รถแทรกเตอร์
- ใบอนุญาตขับขี่รถแทรกเตอร์ ถึงจะเป็นรถที่ใช้งานในการเกษตร แต่ก็เป็นรถที่ต้องสอบใบขับขี่ด้วยเช่นกัน เพราะยังไงในการควบคุมก็ต้องอาศัยความชำนาญของผู้ขับขี่ เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุอันตรายได้
- มีอายุการใช้งาน 5 ปี
- มีค่าธรรมเนียม 250 บาท
นอกจากที่กล่าวมานี้ยังมีอีก 2 ชนิดนั่นก็คือ
- ใบขับขี่รถชนิดอื่นๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมา
- มีอายุการใช้งาน 5 ปี
- มีค่าธรรมเนียม 100 บาท
- ใบขับขี่ระหว่างประเทศ ในชนิดนี้จะเป็นใบขับขี่สากลที่ผู้ขอจะต้องมีใบขับขี่ประเภทส่วนบุคคลก่อนถึงจะขอทำใบขับขี่ประเภทนี้เพื่อนำไปใช้งานในต่างประเทศได้ครับ
- มีอายุการใช้งาน 1 ปี
- มีค่าธรรมเนียม 500 บาท
การขอใบขับขี่สาธารณะ
ในสำหรับท่านที่ต้องการอยากขอทำเป็นใบขับขี่สาธารณะสามารถนำใบขับขี่ส่วนบุคคลมายื่นเรื่องได้ทันทีที่สำนักงาน กรมการขนส่งทางบก โดยจะมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
- ใบขับขี่รถยนต์สาธารณะ จะต้องมีใบขับขี่แบบชั่วคราว ที่มีอายุการใช้งานมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี หรือมีใบขับขี่ส่วนบุคคลอยู่แล้ว และจะต้องมีอายุไม่ตำกว่า 22 ปีบริบูรณ์ หากมีคุณสมบัติครบตรงตามนี้สามารถทำได้ในทันที
- ใบขับขี่รถยนต์สามล้อสาธารณะ (รถตุ๊กตุ๊ก) เงื่อนไขจะเป็นแบบเดียวกับใบขับขี่รถยนต์สาธารณะ คือจะต้องมีใบอนุญาตขับขี่รถสามล้อชั่วคราวที่ใช้งานมาแล้วอย่างน้อย 1 ปีหรือมีใบขับขี่ประเภทนี้เป็นส่วนบุคคลอยู่แล้ว และต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป หากมีคุณสมบัติครบตรงตามนี้ก็จะสามารถทำได้ในทันที
- ใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ เป็นใบขับขี่สำหรับผู้ที่ต้องการจะประกอบอาชีพวินมอเตอร์ไซค์ จำเป็นต้องมีใบขับขี่รถจักรยานยนต์ชั่วคราวอายุอย่างน้อย 1 ปีหรือมีใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลอยู่แล้ว ก็จะสามารถทำได้ในทันที และต้องมีอายุที่ไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ด้วย
หลังจากที่ได้ทราบกันไปแล้วว่า ในปัจจุบันใบขับขี่มีกี่ชนิด ควรจะเลือกทำแบบไหนถึงจะถูกต้อง ควรเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับในการสอบ เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดจนต้องเสียเวลามาอีกในครั้งหน้า เพราะด้วยสถานการณ์ปัจจุบันทำให้ต้องจำกัดจำนวนผู้เข้าทดสอบในแต่ละวันจึงทำให้หลายๆอย่างจะล่าช้ากว่ากำหนด mywonderwheel เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาควรทำครั้งเดียวให้ผ่านทุกขั้นตอนเลยครับ