เบรกในรถยนต์มีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีข้อดีข้อเสียต่างกันอย่างไร 

เบรกในรถยนต์มีกี่ประเภท-แต่ละประเภทมีข้อดีข้อเสียต่างกันอย่างไร

หากพูดถึงเทคโนโลยีก็เป็นสิ่งหนึ่งที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดด รวมถึงในเรื่องของรถยนต์เอง ที่ก็มีเทคโนโลยีต่าง ๆ เพิ่มเข้ามามากขึ้น นั่นรวมไปถึงระบบเบรก ซึ่งในวันนี้เราจะพาทุกท่านไปรู้จะกับระบบเบรกในปัจจุบันกัน ผ่านบทความ เบรกในรถยนต์มีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีข้อดีข้อเสียต่างกันอย่างไร เรื่องนี่ ขึ้นชื่อว่าระบบเบรกหรือระบบห้ามล้อก็ถือว่าเป็นอุปกรณ์อีกหนึ่งชิ้นที่สำคัญมาก ๆ และขาดไม่ได้ เพราะถ้าหากเสียหายหรือเสื่อมสภาพไปในระหว่างใช้ หรือ ใช้งานได้ไม่ถูกวิธีเกินลิมิตของรูปแบบนั้น ๆ ก็ส่งผลให้อันตรายถึงชีวิตได้เลย ซึ่งในปัจจุบันเราก็จะเห็นเทคโนโลยีมากมายที่ช่วยเข้ามาเสริมการทำงานของเบรก อย่างเช่นระบบ ABS ที่จะช่วยป้องกันล้อล็อค หรือ แม้กระทั่งระบบกระจายแรงเบรก หรือ เสริมประสิทธิภาพของเบรกในระหว่างเข้าโค้งเองก็มีมาให้แล้วในปัจจุบันด้วยเช่นกัน

เบรกมีกี่ประเภท 

สำหรับระบบเบรกในปัจจุบันนั้นก็ยังคงมีอยู่ 2 ประเภทเช่นเคย โดยแบ่งประเภทได้ดังนี้

เบรกมีกี่ประเภท
  • ดรัมเบรก หรือ Drum Brake คือ ระบบเบรกที่ใช้กันมาตั้งแต่ในยุคแรกเริ่มของรถยนต์ ที่ได้ใช้กันมาอย่างช้านานสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์จนถึงปัจจุบัน ที่ไม่ได้ใช้แค่กับรถยนต์เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงยานพหนะอีกหลาย ๆ รูปแบบก็ใช้ระบบห้ามล้อแบบนี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งการทำงานของระบบดรัมเบรก จะหยุดรถโดยใช้หลักการของแรงผลักเพื่อให้รถเกิดแรงเฉื่อยจากก้านต้านของแรงผลักด้วยก้ามปูที่อยู่ภายในดั้มเบรก ที่จะเป็นผ้าเบรกรูปร่างโค้งมน โดยจะมีสปริงกับลูกสูบเบรกที่ต่อเข้ากับสายเบรกโดยตรง ทำให้เวลาที่เหยียบเบรกตัวผ้าเบรกจะถูกดันติดกับฝาครอบเบรกที่ยึดติดกับตัวล้อ โดยแม่ปั้มเบรกอีกหนึ่งชิ้นเพื่อช่วยสร้างแรงเฉื่อยให้กับตัวรถ เพื่อช่วยชะลอความเร็วและหยุดการเคลื่อนที่ของรถ ส่วนดรัมเบรกนั้นก็จะมีทั้งหมด 2 ประเภทได้แก่ แบบก้ามปู 2 ก้าม ที่จะช่วยเสริมแรงเบรกให้กับระบบเบรกรูปแบบนี้ได้มากขึ้น โดยส่วนมากจะถูกใส่ไว้ในล้อคู่หน้าที่ต้องการแรงเบรกมาก ๆ แบบที่ 2 จะเป็นแบบ ก้ามปูนำ และ ก้ามปูตามที่สามารถช่วยส่งแรงหยุดรถได้ดีทั้งในเวลาที่เดินหน้าและถอยหลัง ซึ่งส่วนมากจะนิยมใส่ไว้ในล้อคู่หลัง

ข้อดีของระบบดรัมเบรก 

  • สามารถช่วยให้หยุดรถได้เร็วมากขึ้น เพราะตัวก้ามปูจะถูกจับอยู่กับดุมล้อโดยตรง ทำให้ผู้ขับขี่ไม่จำเป็นต้องใช้แรงในการเหยียบเบรกมาก 
  • ตัวดรัมเบรกจะช่วยเพิ่มแรงจับให้ผ้าเบรกกับฝาครอบได้อัตโนมัติเป็นเหตุที่เราไม่ต้องใช้น้ำหนักในการกดเบรกมาก
  • มีพละกำลังหรือแรงในการหยุดรถที่อยู่ในระดับสูง จึงเห็นได้บ่อยกับรถบรรทุกที่ช่วยให้รถบางรุ่นไม่จำเป็นต้องใช้หม้อลมเพื่อเสริมแรงเบรกเลย 

ข้อเสียของระบบดรัมเบรก

  • สำหรับข้อเสียอย่างแรกระบบดรัมเบรกนั้นค่อนข้างที่จะถ่ายเทความร้อนได้ยากและไม่ลื่นไหล จึงทำให้มีความร้อนสะสมสูง
  • มีระยะเบรกที่ค่อนข้างไกลจำเป็นต้องเผื่อระยะในการเบรก ถ้าเบรกกระทันหันก็อาจจะทำให้เกิดอันตรายได้
  • เป็นระบบเบรกที่ค่อนข้างดูแลรักษายากเพราะจะเป็นระบบปิดจึงระบายน้ำได้ไม่ค่อยดี และ ทำความสะอาดยาก
เบรกมีกี่ประเภท

ดิสก์เบรก หรือ Disc Brake คือระบบเบรกที่เราจะพบเห็นได้บ่อยที่สุดในปัจจุบัน เพราะไประบบเบรกที่รถยนต์ทั่วโลกนิยมใช้กันมากที่สุด ซึ่งก็ถือว่าเป็นระบบเบรกที่ถูกยกให้เป็นมาตรฐานความปลอดภัยอันดับหนึ่งด้วยเช่นกัน จนทำให้มียี่ห้อหรือแบรนด์ดังจัดทำระบบดิสก์เบรกของตัวเองออกมามากมาย ซึ่งการทำงานของระบบเบรกก็จะคล้าย ๆ กับดรัมเบรก โดยตัวแม่ปั้มเบรกจะดันผ้าเบรกหรือก้ามปูไปจับกับจานเบรกที่ติดอยู่กับตัวล้อ โดยในรูปแบบนี้จะใช้ผ้าเบรก 2 ชิ้นที่จะคอยจับกับจานเบรกทั้ง 2 ด้าน เพื่อช่วยชะลอความเร็วจนรถหยุดลง แต่จะมีประสิทธิภาพในการเบรกที่สูงกว่าดรัมเบรกมาก ๆ โดยส่วนมากจะนิยมใช้ระบบดิสก์เบรกกับล้อคู่หน้าเพื่อให้หยุดรถได้รวดเร็วมากที่สุด หรือ รถยนต์สมรรถนะสูงในบางรุ่นก็จะใช้ระบบดิสก์เบรกทั้งล้อหน้าและล้อหลังเลย ส่วนระบบดิสก์เบรกนั้นก็จะแบ่งประเภทออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่

  1. ดิสก์เบรกแบบก้ามปูยึดอยู่กับที่ หรือ แบบ Fixed-Position Disc Brake จะเป็นดิสก์เบรกที่มีคาลิปเปอร์กับเบรกเป็นเพียงที่ยึดของลูกปั้มเท่านั้น โดยตัวคาลิปเปอร์จะอยู่ในตำแหน่งดั้งเดิมไม่เคลื่อนที่ขณะที่เบรกทำงาน
  2. ดิสก์เบรกแบบก้ามปูแกว่งได้ หรือ Swinging-Caliper Disc Brake คือ ระบบดิสก์เบรกที่ใช้คาลิปเปอร์เบรกแบบเคลื่อนที่ไปมาได้ ซึ่งรูปแบบการทำงานก็จะเป็นผ้าเบรกด้านหนึ่งจับคนละตำแหน่งกันกับผ้าเบรกอีกหนึ่งด้านที่ติดอยู่บนคาลิปเปอร์ในเวลาพร้อมกัน ช่วยให้เบรกได้อย่างรวดเร็วแม่นยำและหยุดรถได้ไวมากขึ้น 
  3. ดิสก์เบรกแบบเคลื่อนที่ได้ หรือ Sliding-Caliper Dsc Brake คือ ระบบเบรกที่เคลื่อนที่ไปมาตลอดเวลา ซึ่งระบบการทำงานก็จะคล้าย ๆ กับในข้อ 2 แต่จะใช้ปั้มเบรก 2 ตัว โดยตัวแรกจะเป็นตัวที่ใช้ดันผ้าเบรกโดยตรง ส่วนอีกหนึ่งตัวจะทำหน้าที่ดันคาลิปเปอร์เบรก ให้ไปในทิศทางตรงกันข้ามกับปั้มเบรกตัวแรก เพื่อในเวลาเบรกจะได้ทำงานพร้อมกันทั้ง 2 ตำแหน่ง

ข้อดีของระบบดิสก์เบรก 

  • สามารถระบายความร้อน และ ระบายน้ำได้เป็นอย่างดี ทำให้เกิดอาการเบรกเฟดได้ยากกว่าดรัมเบรก 
  • มีประสิทธิภาพในการเบรกที่สูงกว่าดรัมเบรก ช่วยลดระยะทางและระยะเวลาในการเบรกลงได้มากกว่ารูปแบบก่อน
  • เป็นระบบเบรกที่ดูแลรักษาง่าย แข็งแรงทนทานไม่มีปัญหาจุกจิก
  • มีหน้าตาที่สวยงามกว่าดรัมเบรก สามารถเลือกตกแต่งให้เข้ากับล้อหรือเข้ากับสีรถได้อย่างมากมายหลากหลายรูปแบบ 

ขเแดสัยของระบบกดิสก์เบรก

  • ระบบเบรกในรูปแบบนี้จะต้องใช้แรงเหยีบมากกว่าระบบดรัมเบรก
  • มีพละกำลังในการหยุดรถที่น้อยกว่าดรัมเบรก จึงไม่เหมาะกับรถที่มีน้ำหนักตัวเยอะ
  • เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการเบรกที่สูงขึ้นแล้ว จึงทำให้ผ้าเบรกนั้นหมดไวจำเป็นต้องเปลี่ยนอยู่บ่อย ๆ 
  • มีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาที่เพิ่มมามากขึ้นกว่าเดิม 

สรุป

เบรกมีกี่ประเภท

เรียกได้ว่าเป็นเทคโนโลยีและอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งเลยสำหรับระบบเบรก ที่รถยนต์นั้นจะขาด หรือ ชำรุดไปไม่ได้เลย เพราะนั่นอาจหมายถึงชีวิตของคุณและผู้ร่วมท้องถนนได้เลย ซึ่งก่อนที่จะจากกันไปในครั้งนี้ เราหวังว่าบทความ เบรกในรถยนต์มีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีข้อดีข้อเสียต่างกันอย่างไร  เรื่องนี่ จะเป็นประโยชน์และช่วยมอบความสนุกเพลิดเพลินให้กับผู้อ่านทุกท่านได้นะครับ ส่วนในครั้งหน้าจะเป็นบทความเรื่องอะไรนั้น โปรดติดตามรับชมกันด้วยนะครับ สวัสดีครับ

บทความล่าสุด

หมวดหมู่

บริการรับ จำนำรถ

TAG