สำหรับรถยนต์ในปัจจุบัน ก่อนจะมีการวางจำหน่ายในแต่ละรุ่นทางผู้ผลิตก็จะต้องมีการวัดสมรรถนะเครื่องยนต์ โดยการวัดแรงม้าและแรงบิดออกมา เพื่อเป็นตัวเลขที่นำไปให้ผู้ซื้อใช้เป็นข้อเปรียบเทียบกับรุ่นอื่น ๆ แล้วทุกท่านเคยสงสัยกันไหมครับว่า ว่าทำไมรถยนต์บางคัน ก็มีแรงม้าเยอะกว่าแรงบิด บางคันก็มีแรงบิดเยอะกว่า ในวันนี้ผมจะพาทุกท่านไปไขข้อสงสัยไปด้วยกันกับ บทความ แรงม้า และ แรงบิด คืออะไร ระหว่างแรงม้าเยอะ กับ แรงบิดเยอะ แบบไหนดีกว่ากัน เรื่องนี้ เคยสังเกตุกันไหมครับว่าหากเป็นรถยนต์ประเภทเครื่องยนต์เบนซิน หรือ รถเก๋งทั่วไปในบ้านเรา มักจะมีแรงม้าเยอะกว่าแรงบิดเสมอ แต่รถยนต์ประเภทเครื่องยนต์ดีเซล หรือ รถกระบะ จะมีแรงบิดมากกว่าแรงม้าทุกคัน แน่นอนว่าต้องไม่ใช่เรื่องบังเอ็ญแน่ แล้วทำไมกันล่ะเราไปหาคำตอบพร้อมกันเลยครับ
แรงบิด คืออะไร
แรงบิด หรือ Torque คือแรงที่ใช้หมุนให้รอบการทำงานของเครื่องยนต์ เป็นสิ่งที่เครื่องยนต์ทุกตัวต้องมี เพื่อเป็นตัวส่งแรงสำคัญไปยังเพลาขับเคลื่อน ระบบส่งกำลังเกียร์ ลงไปสู่ล้อรถยนต์ แต่จะรู้ได้อย่างไรว่ารถคันนี้มีแรงบิดมากเท่าไร และ แบบไหนถึงเรียกว่ามาก แบบไหนที่เรียกว่าน้อยกัน ก็จำเป็นต้องมีหน่วยวัดที่ผ่านจากสูตรคำนวนออกมาเป็นตัวเลขเพื่อให้เข้าใจและแยกประเภทได้ง่าย สำหรับหน่วยวัดแรงบิดที่นิยมใช้กันในรถยนต์บ้านเราก็จะเป็นหน่วย นิวตัน-เมตร ซึ่งจะเป็นการวัดแรงจากน้ำหนัก 0.1 กิโลกรัมโดยที่มีแขนยาว 1 เมตร ซึ่งการวัดแรงบิดปกติจะเป็นการวัดจาก แรงน้ำหนัก X ความยาวแขนของตัวรับแรง ที่ใช้จับตัวบิด (ตามภาพด้านล่าง) ส่วนหน่วยที่นิมยมใช้กันในรถยนต์ ก็จะมีตั้งแต่ ปอนด์ฟุต และ นิวตันเมตร อย่างที่กล่าวมา
ยิ่งแรงบิดมากก็จะยิ่งบรรทุกของหนักได้มากแต่ก็จะมากับรอบสูงสุดที่ต่ำ และ ทำความเร็วได้น้อย แต่ถ้าอยากรู้ว่าบิดได้เร็วเท่าไรก็จะต้องไปดูกันที่แรงม้าด้วย เพราะฉนั้นแรงบิดจึงเป็นตัวที่วัดระยะเวลาอัตราเร่งของเครื่องยนต์ว่าไปถึงแรงม้าสูงสุดที่เวลาเท่าไร ซึ่งรถยนต์แต่ละคันนั้นก็จะมีจุดที่แรงบิดสูงสุดในรอบที่แตกต่างกัน เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานของในรถแต่ละประเภท ซึ่งแรงบิดสูงสุดที่ว่านี้จะเรียกกันว่า Peak Torque ถ้าหากรถที่มี Peak Torque มาในรอบต่ำก็จะยิ่งทำให้ออกตัวได้ดีแต่ก็จะมีความเร็วไม่เยอะในรอบสูง และ รถยนต์ที่มี Peak Torque ในรอบสูงส่วนมากจะใช้กันในรถแข่งที่จะทำให้แรงบิดมาในรอบสูงทำให้วิ่งได้เร็วมาก ๆ ในความเร็วปลายแต่ก็อาจจะออกตัวได้ไม่เร็วมากนัก หรือ ต้องใช้คันเร่งหนักในการออกตัว และ ในปัจจุบันก็จะมีเทคโนโลยีที่เรียกว่าแคมชาฟท์แบบปรับองศาได้ เพื่อให้รถยนต์ไม่ได้แรงแค่เพียงจุดเดียว อย่างเช่นระบบ VTEC , VVT , Valvetronic และ อีกมากมายของแต่ละค่าย ส่วนประโยคที่มักจะพบบ่อยในบทความของเราที่คอยบอกว่า รถยนต์คันนี้มีแรงบิด 300 นิวตัน-เมตร ที่ 4,000 รอบต่อนาที นั่นก็เท่ากับว่า แรงบิดสูงสุดที่ทำได้ จะมาที่ 4,000 รอบต่อนาทีนั่นเอง
แรงม้า คืออะไร
แรงม้า หรือ House Power (HP) คือ หน่วยวัดแรงที่เครื่องยนต์ทำได้มากที่สุดในเวลา 1 นาที ซึ่งถูกใช้กันมาตั้งแต่ในปี 1750 ซึ่งได้กำหนดให้ม้า 1 ตัว สามารถ ยกของหนัก 33,000 ปอนด์ ได้ใน 1 นาที นับเป็น 1 แรงม้า หรือ จะเป็นการยกของ 1,000 ปอนด์ ขึ้นไป 33 ฟุต ในเวลา 1 นาที ก็นับว่าเป็น 1 แรงม้าได้เช่นกัน ยิ่งถ้าเป็นของที่น้ำหนักน้อยกว่าที่ว่าก็จะสามารถทำได้หลายรอบมากขึ้นในเวลาเท่าเดิม อย่างเช่นประโยคที่มักจะพบบ่อยในบทความของเรา ที่ว่ารถยนต์คันหนึ่งมีพละกำลังสูงสุด อยู่ที่ 180 แรงม้า ที่ 4,500 รอบต่อนาที นั่นก็หมายความว่า แรงม้าที่สูงสุดที่จะเกิดขึ้นได้จะมีก็ต่อเมื่อเครื่องยนต์ทำงานถึง 4,500 รอบต่อ นาทีแล้วนั่นเอง หากรถยนต์วิ่งในรอบที่ต่ำหรือสูงกว่าก็จะเรียกแรงม้าออกมาได้ไม่เท่ากับรอบดังกล่าว แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่่ารถยนต์ที่มีแรงม้าเยอะจะเร็วกว่ารถยนต์ที่มีแรงบิดเยอะเสมอไป ซึ่งจะแตกต่างกันอย่างไร เราไปชมกันในย่อหน้าถัดไปเลยครับ
ระหว่างแรงม้าเยอะ กับ แรงบิดเยอะ แบบไหนดีกว่ากัน
(175 แรงม้า ที่ 3,500 รอบต่อนาที) (แรงบิด 145 นิวตัน-เมตร ที่ 6,200 รอบต่อนาที)
อย่างแรกต้องทราบกันก่อนว่าแรงม้ากับแรงบิดนั้นต่างกันอย่างไร เพื่อที่ไม่ให้เกิดการเข้าใจผิดได้ว่ารถยนต์ที่มีแรงม้าเยอะต้องแรงกว่ารถยนต์ที่มีแรงม้าน้อยแต่แรงบิดเยอะ ซึ่งแรงม้าคือตัวที่บ่งบอกว่ารถสามารถทำความเร็วได้เท่าไร ส่วนแรงบิดจะบอกว่าเราสามารถทำอัตราเร่งได้มากแค่ไหน เพราะฉนั้นการที่มีแรงม้าเยอะแต่แรงบิดน้อยก็อาจจะทำให้ออกตัวได้ไม่ดี ไม่มีพละกำลังมากที่จะส่งรถขึ้นทางลาดชันได้เร็ว หรือ ไม่สามารถขนของหนักได้ ส่วนรถยนต์ที่มีแรงบิดเยอะกว่าแรงม้า ก็จะสามารถเรียกอัตราเร่งได้ไว ออกตัวดีขึ้นเขาได้ง่าย บรรทุกของหนักได้โดยที่ไม่เสียพละกำลัง แต่ก็จะมากับความเร็วสูงสุดที่ทำได้น้อย และ กว่าจะถึงก็ใช้เวลานาน ถ้าให้เปรียบเทียบ ๆ ง่ายก็อย่างเช่นรถเก๋งเครื่องยนต์เบนซินอย่าง Honda Civic ที่มีแรงม้าเยอะกว่าแรงบิด กับ รถกระบะเครื่องยนต์ดีเซลอย่าง Isuzu D-Max ที่มีแรงบิดเยอะกว่าแรงม้า จะเห็นได้ว่าในเวลาออกตัวหรือเร่งแซงในทางตรง รถเก๋งที่มีแรงม้าเยอะจะได้เปรียบกว่า แต่ถ้าในเวลาที่ต้องขึ้นเขามักจะเห็นรถกระบะทำได้ดีกว่าในทุกครั้ง เพราะฉนั้นถ้าเป็นรถยนต์ที่มีแรงม้าเท่ากัน แต่อีกคันมีแรงบิดเยอะกว่าก็จะสามารถทำเวลาไปถึงแรงม้าสูงสุดได้เร็วกว่า และ อย่างคำถามที่เจอบ่อยที่สุดว่า ระหว่างแรงม้าเยอะกับแรงบิดเยอะแบบไหนจะดีกว่ากัน ก็ต้องขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ในการใช้งานของแต่ละบุคคลนั่นเอง จึงไม่มีแบบไหนที่ดีไปมากกว่ากันในทุกด้านเพราะรถทุกคันล้วนมีข้อดีและข้อเสียด้วยกันทั้งหมด
แล้วทำไมคนถึงไม่นิยมนำเครื่องยนต์ใหญ่ ๆ ที่มีแรงม้าและแรงบิดเยอะมาใส่ในรถขนาดเล็กกันล่ะ ก็เป็นอีกหนึ่งคำถามที่พบบ่อย นั่นก็เพราะด้วยเครื่องยนต์ที่ใหญ่ทำให้ในเวลาขับช้า ๆ หรือ ปกติ จะต้องใช้แรงในการเรียกรอบที่เยอะจนทำให้กินน้ำมันจนเกินไปนั่นเอง
สรุป
แน่นอนว่าก่อนที่ทุกท่านจะซื่อรถยนต์สักหนึ่งคัน ทางพนักงานขายก็จะต้องบอกถึงรายละเอียดสมรรถนะที่รถยนต์คันนี้ทำได้ ซึ่งก็จะมีรายละเอียดอย่างมากมายตั้งแต่ ชนิดของเครื่องยนต์ ว่ามีความจุเท่าไร ขับเคลื่อนด้วยระบบส่งกำลังแบบไหน และ สิ่งที่พนักงานขายทุกคนต้องพูดถึงคือ พละกำลังแรงม้าและแรงบิด ที่มาเป็นตัวเลข ในกี่รอบต่อนาที ซึ่งหากฟังครั้งแรกก็อาจจะสงสัยและไม่เข้าใจได้ ดังนั้นจุดประสงค์ของ บทความ แรงม้า และ แรงบิด คืออะไร ระหว่างแรงม้าเยอะ กับ แรงบิดเยอะ แบบไหนดีกว่ากัน ของเราในครั้งนี้ เพื่ออยากให้ผู้อ่านทุกท่านได้ทราบและเข้าใจได้ว่า รถยนต์ที่มีแรงม้าสูงกว่าแรงบิด เหมาะกับการใช้งานแบบไหน ส่วนรถยนต์ที่มีแรงบิดสูงกว่าแรงม้าควรนำไปใช้ในแบบใด ไม่เข้าใจผิดว่ารถยนต์ที่แรงม้าเยอะจะแรงกว่าเสมอไป ซึ่งคำตอบของเราก็ไม่ได้ยกให้รถยนต์แบบไหนดีกว่ากัน เพราะทั้ง 2 แบบนี้มีจุดประสงค์ในการใช้งานที่แตกต่างกัน แต่ถ้าอยากได้รถแรงก็ต้องไปมองที่รถยนต์ที่มากับพละกำลังแรงม้ากับแรงบิดที่สูง หรือ นำรถไปเพิ่มส่วนที่รู้สึกขาดไปด้วยเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในปัจจุบันก็จะทำให้รถแรงขึ้นได้เช่นกัน ส่วนจะมีเทคโนโลยีอะไรที่ช่วยให้รถยนต์ของเรา วิ่งได้เร็วและขับดีขึ้นได้บ้าง เราจะนำมาทำเป็นบทความให้ทุกท่านได้อ่านกันนะครับ สำหรับวันนี้ mywonderwheel ต้องขอตัวลาไปก่อน และ พบกันใหม่ในครั้งหน้า สวัสดีครับ
เครดิต : สล็อตเว็บตรง